วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 3

1. การจัดการเรียนการสอน  จัดชั้นเรียน  เตรียมการสอน ในยุคศตวรรษที่ 21 กับยุคก่อนศตวรรษที่ 21 เปรียบเทียบกันแตกต่างกันอย่างไร  
แนวคิดก่อนยุคศตวรรษที่ 21
เป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิต ส่วนใหญ่การศึกษาเกิดขึ้นในโรงเรียน โดยผู้เรียนจะมีครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้เรียนจะไม่รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง โรงเรียนจะเป็นส่วนหนึ่งในการกล่อมเกลาให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม ครู คนที่จดจำความรู้ได้มาก ย่อมเรียนรู้ได้ดีกว่าคนที่จดจำความรู้ได้น้อย
แนวคิดในคศตวรรษที่ 21
เป็นการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษาด้วยตนเองเป็นหลัก ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองได้ทุกสถานที่ เรียนรู้การตัดสินใจและทุกคนจะมีความเจริญก้าวหน้าในสังคมด้วยคนในสังคมอยู่แล้ว ผู้เรียนมีโอกาสในการเลือกหลักสูตรที่หลากหลาย มีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ครูจะเป็นตัวแทนของการเรียนรู้และมีระบบการประเมินที่หลากหลายการสอนที่จัดว่ามีประสิทธิภาพ  ต้องการครูที่มีคุณลักษณะเป็นผู้ชี้แนะการเรียนรู้ (learning coach) และ เป็นตัวแทนในการนำผู้เรียนท่องเที่ยวไปสู่โลกแห่งการเรียนรู้ได้  (learning travel agent)     

2. ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวอย่างไรในอนาคตที่ท่านจะเป็นครูยุดต่อไปข้างหน้า ให้สรุปตามแนวคิดของนักศึกษา
ในยุคปัจจุบันผู้เรียนมีการเรียนรู้ที่ต่างกัน โลกยุคใหม่ข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ครูผู้สอนจึงต้องมีประสบการณ์การเรียนรู้แบบใหม่ ใช้เครื่องมือต่าง ๆได้ มีทักษะการค้นหาความรู้ด้วย เทคโนโลยีได้ตลอดเวลา ครูที่ประสิทธิภาพต้องใช้เทคโนโลยีได้อย่างคล่องแคล่ว การประเมินก็สามารถใช้เทคโนโลยีในการประเมินได้ ครูผู้สอนจึงต้องมีทักษะด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างดี






วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2

ทฤษฎีการบริหารการศึกษา
มาสโลว์ กับทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ อันเป็นพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งมาสโลว์ได้แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้ ความต้องการทางกายภาพ ความต้องการความปลอดภัย ความต้องการทางสังคม ความต้องการยกย่องชื่อเสียง ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต
Douglas Mc Gregor ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ทฤษฎีการมองต่างมุม
ทฤษฎี X เป็นพวกที่ไม่เกิดการพัฒนาตนเอง ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบทำงาน หลีกเลี่ยงการทำงาน
ทฤษฎี Y เป็นพวกที่พัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน
แมคเกรเกอร์จึงเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงมุมมองจากทฤษฎี X เป็นทฤษฎี Y
William Ouchi ทฤษฎี Z กลุ่มทฤษฎีร่วมสมัย
ทฤษฎี A คือ Amarican Theory เป็นการบริหารจัดการจากพื้นฐานของบุคคล
ทฤษฎี J คือ การบริหารจัดการแบบจ้างงานตลอดชีวิตและการตัดสินต้องได้รับการยอมรับจากที่ประชุม วิลเลี่ยม โอชิ นำมาผสมผสานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เรียกว่า ทฤษฎี Z 
Henry Fayol : บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่ประกอบด้วยกิจกรรม 5 อย่างคือ
1. การวางแผน(Planning) 
2. การจัดองค์การ(Organizing) 
3. การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ (Commanding) 
4. การประสานงาน (Coordinating) 
5. การควบคุม (Controlling)
Max Weber ทฤษฎีการจัดการตามระบบราชการ ได้สรุปแนวคิดการจัดองค์กรของเว็บเบอร์มี 6 ประการมีดังนี้
1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ เพื่อการทำงานที่ไม่สับสน
2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น
3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการ
4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์
5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ
Luther Gulick การบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการ ให้ความสำคัญของการควบคุม การสั่งการ การประสานงาน   คือ  คือการวางแผน (planning) , O คือการจัดองค์การ (organizing) , D คือการสั่งการ (directing) , S คือการบรรจุ (staffing) , CO คือการประสานงาน(co-ordinating) , R คือการรายงาน (reporting) , B คือการงบประมาณ (budgeting)
Frederick Herzberg ทฤษฎี 2 ปัจจัย (Two Factors Theory)
1.   ปัจจัยภายนอก เป็นแรงจูงใจที่สนองตอบต่อความต้องการภายนอกของคน ทำให้คนพึง  พอใจได้ในเบื้องต้นและจะมีผลต่อคนอยู่ไม่นานนัก
2.    ปัจจัยภายใน เป็นเกิดแรงจูงใจกับคนอยู่ได้นานกว่าปัจจัยภายนอก
Frederick W. Taylor ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาของเทย์เลอร์ได้แก่ ทำการศึกษางานด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดและใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์การคัดเลือกและการฝึกอบรมและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุด
Henry L. Gantt ผู้พัฒนาการอธิบายแผนโดยใช้กราฟ (Gantt Chart)เป็นสื่อในการอธิบายแผน การวางแผน การจัดการ และการควบคุมองค์กรที่มีความสลับซับซ้อน เพื่อให้ผู้รับฟังเกิดมิติในการรับรู้มากยิ่งขึ้น
Frank B. & Lillian M. Gilbreths : Time – and – Motion StudiesGilbreth เน้นการพัฒนา และความประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง การศึกษาที่สำคัญคือลักษณะการเคลื่อนไหวของร่างกายในการทำงาน














วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1


 ความหมายของคำว่า การบริหาร  การศึกษา  การบริหารการศึกษา  ศึกษาหลักการบริหารเบื้องต้น  ให้นักศึกษาสรุป คำสำคัญ (Keyword) จากการศึกษาเอกสารความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหาร
1. ความหมายการบริหาร
     การบริหาร หมายถึง การทำงานของกลุ่มบุคคล เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ให้มีประสิทธิภาพ
2. ความหมายการศึกษา
     การศึกษา หมายถึง การสร้างองค์ความรู้ที่จะพัฒนาบุคคลในสังคมให้มีประสิทธิภาพ ทั้งด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะ ความคิด และความเป็นคนดี
3. ความหมายการบริหารการศึกษา
    การบริหารการศึกษา หมายถึง การดำเนินกิจกรรมต่างๆในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาบุคคลต่างๆ ในสังคมให้มีคุณภาพสูงสุด ทั้งด้านสติ ปัญญา อารมณ์ ซึ่งผลการดำเนินงานจะต้องบรรลุตามจุดประสงค์
ความแตกต่างของการบริหารการศึกษากับการการบริหารอื่นๆ โดยวิเคราะห์จากทฤษฏี
        1. ความมุ่งหมายหรือวัตุประสงค์ เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ไม่หวังผลกำไร
        2. บุคคล ครูและนักเรียน
        3. กรรมวิธีในการดำเนินงานกรรมวิธีที่หลากหลายในการพัฒนาคน
        4. ผลผลิต ได้คนที่มีคุณภาพ


วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555





ชื่อ:    นางสาว สุภาวรรณ  ปรีชา
ชื่อเล่น:    ขวัญ
ที่อยู่:   206 ม. 7 ต. นาไม้ไผ่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช 80110
เบอร์โทรศัพท์:   088-379-3484
E-mail:   kwanKiKi_08@hotmail.com, gukwan072@gmail.com
วันเกิด:   11 พฤษภาคม 2535 
อายุ: 20 ปี
น้ำหนัก:   40  
ส่วนสูง:   152
สัญชาติ:   ไทย  
เชื้อชาติ:  ไทย
ศาสนา:   พุทธ
กรุ๊ปเลือ:  B
สถานภาพ:   โสด
สุขภาพ:   แข็งแรง
งานอดิเรก:   ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ
ความสามารถพิเศษ:  ร้องเพลง
คติประจำใจ:  การกระทำสำคัญกว่าคำพูด
การศึกษา:   2539 - 2546 ระดับประถมศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านไทรห้อง เกรดเฉลี่ย 3.50
                    2547 - 2549 ระดับมัธยมต้น       โรงเรียนทุ่งสงวิทยา
 เกรดเฉลี่ย 3.10
                   2550 - 2542 ระดับมัธยมปลาย   โรงเรียนทุ่งสง เกรดเฉลี่ย 2.75
                   ปัจจุบันกำลังศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ / เอกคณิตศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
จุดเด่น: มนุษยสัมพันธ์ดี
ปรัชญา:                                  คิดและลงมือทำ 
                                คนประเภทนี้จะมีโอกาศสำเร็จสูงมาก 
                                       แม้โอกาศล้มเหลวก็มีเช่นกัน 
                                                แต่คนคิดแล้วทำ 
                                 น่านับถือสปิริตแห่งความมุ่งหมาย