วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค



1. แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน

แท็บเล็ตคืออะไร
       แท็บเล็ต คือคอมพิวเตอร์แบบพกพา ที่ควบคุมการใช้งานผ่านหน้าจอสัมผัส มีขนามเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค พกกาง่าย น้ำหนักเบา มีคีย์บอร์ดในตัว ระบบการเชื่อมต่อสัญญาณเครือข่ายอิมเตอร์เน็ตแบบ WiFi และ WiFi + 3G
"แท็บเล็ต" (Teblet) เพื่อการศึกษา
           งานเขียนของคุณ  สุรศักดิ์ ปาเฮ เรื่อง "แท็บเล็ต" (Teblet) เพื่อการศึกษา เห็นว่าเป็นเรื่องที่พวกเราควรจะได้รับรู้รับทราบ ความเป็นมาเป็นไปในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย ของเราและของลูกหลานของเรา สรุปความได้ว่า    ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นวัตกรรมใหม่อย่าง "แท็บเล็ต" (Teblet) กำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายมากขึ้น ล่าสุดนโยบายของรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นั้น ได้นำ "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา" มาเป็นเครื่องมือยกระดับคุณภาพและกระจายโอกาสทางการศึกษา ทำให้แท็บเล็ตได้ก้าวเข้ามาเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย        
           นโยบายการศึกษาภาครัฐโดยเฉพาะด้านการศึกษาของรัฐบาลปัจจุบันที่ได้แถลงไว้เมื่อวันที่ 26สิงหาคม 2554  เกี่ยวกับนโยบายด้านการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนาๆชาติ  ต่อรัฐสภาว่าเป็นนโยบายที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้มีระบบการเรียนแบบอิเล็กทรอนิคส์แห่งชาติเป็นกลไกในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของการเรียนรู้  โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีพ  พัฒนาเครือข่ายและพัฒนาระบบไซเบอร์โฮม(Cyber  Home) ที่สามารถส่งความรู้มายังผู้เรียนด้วยระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง โดยการจัดให้มีการแจกแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา(Tablet  for  Education)ที่เป็นเครื่องมือด้านสื่อเทคโนโลยีที่สำคัญและมีอิทธิพลค่อนข้างมากต่อการปรับใช้ในการสร้างมิติแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาจัดการศึกษาของไทยปัจจุบัน โดยที่นโยบายของการปฏิบัติกับนักเรียนช่วงแรกตามโครงการ One  Tablet  PC  Per  Child จะมุ่งเน้นไปที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  จำนวน 539,466 คน เป็นกลุ่มเป้าหมายนำร่องที่สำคัญของการนำสื่อแท็บเล็ตสู่การพัฒนาการเรียนรู้ครั้งนี้
จุดเด่น ของการใช้แท็บเล็ต
            1.สนองต่อการเรียนรู้เป็นรายบุคคล
            2.เป็นสื่อที่ก่อให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย
            3.เกิดการแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
            4.สามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้ได้ชัดเจน และมีความยืดหยุ่น
            5.ส่งผลสะท้อนความก้าวหน้าทางการเรียนรู้จากเนื้อหาที่เรียนต่อผู้เรียนได้ดีและสามารถช่วยให้ผู้เรียนปรับปรุงตนเองในการเรียนรู้เนื้อหาสาระ
            6.สนองต่อคุณภาพข้อมูลสารสนเทศ ทำให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาสาระของข้อมูลสารสนเทศ
จุดบกพร่องของการใช้แท็บเล็ต
            1.ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีหลักสูตรการเรียนการสอนโดยการใช้ Tablet
            2.ครูผู้สอนยังขาดทักษะในการใช้อุปกรณ์ Tablet ในการจัดการเรียนการสอน ในขณะที่ผู้เรียนบางคนมีความพร้อมที่จะเรียน
            3.ยังไม่มีการสร้างเนื้อหาบทเรียนและกิจกรรมที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน
            4.ยังไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ ด้านการบำรุงรักษา  การแก้ปัญหาเรื่องอุปกรณ์และการใช้งาน
            5.มีการจำกัดผู้เรียนในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ (อินเตอร์เน็ต ซึ่งทำให้ผู้เรียนขาดอิสระใน
การเรียนรู้
            จากสรุปผลงานวิจัยของ Bata  ICT  Research  ที่ได้ศึกษาผลการใช้แท็บเล็ตพีซีประกอบการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษาจำนวน 12 โรงเรียนในประเทศอังกฤษช่วงระหว่าง ค.ศ.2004-2005 ซึ่งมีผลการศึกษาหลายประการที่นำมาพิจารณาและนำมาประยุกต์ใช้ได้กับบริบทด้านการศึกษาของไทย สามารถสรุปได้ ดังนี้

ด้านการเรียน
         การใช้แท็บเล็ต(Tablet) โดยให้ผู้เรียนและผู้สอนมีแท็บเล็ตพีซีเป็นของตนเองอย่างทั่วถึง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการใช้อย่างมีประสิทธิผล โดยพบว่าการใช้แท็บเล็ตเป็นการสร้างแรงจูงใจของผู้เรียนและมีผลกระทบในทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อีกทั้งช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เข้าถึงองค์ความรู้นอกห้องเรียนอย่างกว้างขวาง

ด้านหลักสูตร
         สำหรับด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนนั้นพบว่า  การใช้แท็บเล็ตพีซีนั้นช่วยส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน  และส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตรหรือการจัดการเรียนการสอนที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนประกอบมากขึ้น  อย่างไรก็ตามการสร้างให้เกิดผลสำเร็จดังกล่าวนั้นต้องอาศัยปัจจัยสนับสนุนและการจัดการในด้านต่างๆจากผู้บริหารเช่นการสนับสนุนให้มีเครือข่ายสื่อสารแบบไร้สาย(Wireless Network) และเครื่องสายแบบไร้สาย (Wireless Data Projector) ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถสร้างและใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการประกอบการเรียนการสอนในสถานศึกษาต่อไป
            ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีที่สุดสำหรับครูไทย คือ ต้องต้องแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่และจัดโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีอย่างเพียงพอ และพัฒนาบุคลากรในการใช้แท็บเล็ต  เพื่อให้ครูเกิดความคุ้นชิน และมีทักษะ ในการใช้แท็บเล็ตอย่างมีประสิทธิภาพ  อีกทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนและผู้สอนมีความกระตือรือร้นและมีเวลาเพียงพอที่จะได้ทดลองและสร้างนวัตกรรมการใช้งานแท็บเล็ต ของตนเอง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการจัดการเรียนการสอน  และก้าวไปสู่การศึกษาสากลเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ  มิใช่เป็นเพียงม่านบังตาที่ฝรั่งเห็นแล้วอมยิ้ม  เพราะการศึกษาของไทยยังต้องพัฒนาอีกมากเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
 ที่มา : บทความแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา : โอกาสและความท้าทาย ( Tablet for Education : The Opportunity and Challenge ) โดย สุรศักดิ์ ปาเฮ
             บทความแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิทยา อารีราษฎร์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิสุทธา อารีราษฎร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
             จดหมายข่าวสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ปีที่ 3 ฉบับ 125 ประจำวันที่ 30 กรกฏาคม 2555  เรื่องแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาไทย ระยะที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ โรงเรียนสาธิตในสังกัด สกอ. ๑๒ แห่ง ได้รับ ๑,๓๑๔ เครื่อง



2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร

"สมาคมอาเซียน"
สมาคมอาเซียน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ประเทศที่รวมเป็นสมาชิก คือ   ไทย มาเลย์เซีย สิงคโบร์ ลาว กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน เวียดนาม พม่า
ความเป็นอาเซียน คือ หนึ่งวิสัยทัศน์, หนึ่งเอกลักษณ์, หนึ่งประชาคมนี้คือ วิสัยทัศน์ของสมาคมอาเซียน
            การสร้างและเตรียมความพร้อมของประเทศไทยเข้าสู่สังคมอาเซียนทางการศึกษา โดยการพัฒนาการศึกษาเพื่อรองรับอาเซียน โดยการปฏิรูประบบกระบวนการเรียนรู้ของสังคมไทย การจัดโครงการความรู้ที่ก้าวหน้าและได้มาตรฐาน ทั้งความรู้ที่เป็นสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น ปฎิรูปหลักสูตรการศึกษาทุกระดับให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงโลก
            การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษาเพื่อเข้าสู่สังคมอาเซียน
ต้องมีการเตรียมเรื่องภาษาอังกฤษให้มีทักษะวิชาชีพที่ได้มาตรฐานวิชาชีพนี้คือปัจจัยหลักที่สำคัญสำหรับครู นักเรียนนักศึกษาของไทย และสิ่งที่ต้องเตรียมความพร้อมคือ การให้เยาวชนรู้สังคมวัฒนธรรมประชาคมอาเซียนมากขึ้น ศึกษาเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ และความเคลื่อนไหวของประเทศคู่เจรจาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาทุกระดับชั้นโดยการวัดผลจากการทดสอบตามมาตรฐานระดับสากลจัดให้มีครูดีและเพียงพอในทุกห้องเรียน ปฎิรูปครู ยกฐานะครูให้เป็นวิชาชีพขั้นสูงอย่างแท้จริง โดยการผลิตครูให้มีคุณภาพทัดเทียมกับนานาชาติ เปิดโอกาสให้เด็กไทยไปเรียนต่างประเทศ เร่งพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนานาชาติ เช่นส่งเสริมความรู้มายังผู้เรียนให้นักเรียนทุกระดับชั้นให้ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการศึกษาให้มีโรงเรียนและสถาบันอาชีวศึกษาคุณภาพสูงในทุกพื้นที่ พัฒนามหาวิทยาลัยเข้าสู่ระดับโลก
            การศึกษาสร้างความเป็นพลเมือง ( Civic Education ) เป็นการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง ( Citizenship ) ของระบอบประชาธิปไตย การเป็นสมาชิกของสังคมที่มีอิสรภาพควบคู่กับความรับผิดชอบ และมีสิทธิเสรีภาพควบคู่กับหน้าที่ โดยมีความสามารถในการยอมรับความแตกต่างและเคารพกติกาการอยู่ร่วมกัน พร้อมทั้งมีส่วนร่วมต่อความเป็นไปและแก้ปัญหาของสังคมตนเอง ดังนั้นการเตรียมตัวเข้าสู่สังคมอาเซียนในยุคใหม่ภายใต้สถานการณ์และความเปลี่ยนแปลงทางสังคมโลก เพื่อมุ่งสร้างความเป็นสังคมแห่งอาเซียน เชื่อได้ว่าสังคมไทยสามารถยกระดับการศึกษาเข้าสู่สังคมอาเซียนได้อย่างภูมิใจและมีศักดิ์ศรี
ที่มา :   บทความย่อ เรื่อง การเตรียมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
เรียบเรียงโดย อาจารย์ภณ ใจสมัคร
             บทความเรื่อง การศึกษาไทยกับประชาคมอาเซียน : ศักยภาพและความพร้อมเชิงระบบ
โดย สุรศักดิ์ ปาเฮ



3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
         "การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง ในเรื่องศรัทธาคือครูต้องมีความศรัทธาในตัวลูกศิษย์ ไม่ว่าลูกศิษย์จะเป็นอย่างไร มีความไว้วางใจในตัวลูกศิษย์และสามารถทำให้ลูกศิษย์ไว้วางใจในตัวอาจารย์ได้คือสามารถเก็บความลับได้ สร้างแรงบันดาลใจครูสามารถสอนให้ลูกศิษย์เกิดความคิดแปลกใหม่และผลักดันให้เกิดสิ่งนั้นขึ้นได้ ยอมรับในความเป็นปัจเจกบุคคลคือการที่ครูต้องยอมรับความคิดเห็นในลูกศิษย์ทุกคน
        “ครูกับภาวะผู้นำทางวิชาการ  ครูที่จะเป็นผู้นำทางการเรียนการสอนควรมีพฤติกรรม 7 ประการ คือ
1.หาหนังสือที่ติดอันดับขายที่ดีที่สุดมาอ่าน อาจจะเป็นสิ่งจำเป็นว่าครูต้องหาหนังสือดีๆมาอ่านทำไมถึงต้องหาหนังสือที่ขายดีที่สุดมาอ่าน เพราะหนังสือที่ขายดีต้องมีสิ่งท่าสนใจ มีสิ่งที่น่าสนใจอยู่แน่นอน
2.อยู่กับปัจจุบัน / ทันสมัย ครูต้องมีความทันเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากโลกปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เพราะครูต้องสามารถนำความรู้ในปัจจุบันมาประยุกต์ใช้ในการสอนได้
3.หาข้อมูลที่มีความรู้เกี่ยวกับเด็ก ครูต้องมีความรู้ในตัวเด็กเพื่อจะนำไปสู่การพัฒนาเด็กได้ หากเด็กคนใดมีปัญหาก้อสามารถแก้ที่ต้นเหตุได้
4.ทำให้เด็กแสดงออกซึ่งการเป็นภาวะผู้นำ ครูต้องเป็นผู้สนับสนุนให้เด็กกล้าที่จะแสดงออก ไม่ปิดกั้นการเป็นผู้นำ ต้องให้เด็กเกิดทักษะที่จะเป็นผู้นำได้
5.กำหนดให้เด็กทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม เมื่อจัดการเรียนการสอนก็ต้องมีการจัดการเรียนการสอนโดยให้เด็กทำงานรวมกลุ่มกัน เพื่อให้เกิดความสามัคคีและมีการยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
6.เชิญบุคคลภายนอกมาพูดให้เด็กฟัง เพราะการเชิญบุคคลภายนอกหรือวิทยาการมาสามรถทำให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ได้มากและเป็นความรู้ที่แท้จริง
 7.ท้าทายให้เด็กได้คิด ครูต้องสอนให้เด็กคิดและลงมือทำ ในสิ่งแปลกใหม่ ตั้งโจทย์ที่แปลกใหม่เพื่อให้เด็กเกิดการพัฒนาได้มากขึ้น


4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหากนักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า

   จากการเรียนวิชาการบริการจัดการในชั้นเรียน ได้เกิดการเรียนรู้มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น มีความรู้ที่ไม่อยู่ในกรอบ คือสามารถเรียนรู้ได้มากว่าในห้องเรียน คือการเรียนแบบออนไลน์ก็ว่าได้ ได้เกิดการเรียนรู้ที่เกิดจากการศึกษาด้วยตัวเองเยอะ ทำให้เกิดทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ หากมีการเรียนรู้แบบนี้สามารถทำให้เรานำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวันเนื่องจากในโลกการเปลี่ยนแปลงวันข้างหน้ามีการเรียนรู้โดยใช้แท็บเล็ต เราก็มีพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีอยู่บ้างจึงเป็นการง่ายที่จะนำไปใช้ต่อไป
ถ้าถาว่าอยากได้เกรดอะไร อยากได้เกรด A เพราะในการเรียนวิชานี้ดิฉันมีความพยายามและตั้งใจในการทำงานทุกชิ้นที่ได้รับมอบหมาย เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน แต่อาจจะมีบ้างครั้งที่มาสายไปบ้าง แต่ก็ไม่มีผลต่อการเรียนรู้ ในการทำงานส่งบ้างครั้งอาจเป็นเพราะที่หอไม่มีอินเตอร์เน็ตหากทำงานส่งในห้องไม่ทันจึงทำให้การทำงานล่าช้าไปบ้างแต่งานทุกชิ้นที่ทำส่งเกิดจากการคิด วิเคราะห์ด้วยตนเองทั้งสิ้นอาจจะมีบ้างครั้งที่เข้าไปอ่าของคนอื่นแต่ไม่ได้คัดลอก แต่จะนำมาเป็นแนวทางในการตอบ โดยใช่ความคิดของตน สิ่งที่ดิฉันได้กล่าวไปทั้งหมดเป็นความสัตย์จริงทั้งสิ้น หากมีสิ่งใดผิดพลาดประการใด ก็แล้วแต่อาจารย์จะพิจารณาในการให้คะแนน ขอบอบพระคุณอาจารย์อภิชาติ วัชรพันธ์ ที่ถ่ายทอดความรู้ ให้คำปรึกษามาโดยตลอดภาคการศึกษา

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เรียงความเรื่องแม่

            คำว่า "แม่" อาจเป็นคำที่สั้น แต่ความหมายยิ่งใหญ่ เราเกิดมา บ้างคนอาจจะเหมือนกับฉันหรือหลายๆคนก็เป็นเหมือนกัน  คำแรกที่เราพูดได้คือคำว่าแม่จริงไหม อาจจะไม่ชัดแต่ เชื่อได้เลยว่าคนเป็นแม่จะมีความสุขที่สุดเมื่อได้ยินลูกเรียกคำว่าแม่เป็นครั้งแรก หลายคนอาจจะไม่เคยบอกรักแม่เพราะอายเช่นเดียวกับฉัน แต่ฉัน ฉันเชื่อว่าถ้าท่านได้ยินคำว่ารักจากเราเราได้บอกรักท่าน "หนูรักแม่" ฉันเชื่อว่าท่านก็คงมีความสุขเช่นเดียวกับคำที่เราเรียกแม่นั้นแหละ
            บ้างครั้งหนูอาจจะเป็นเด็กดื้อ เด็กไม่ดี สิ่งที่สำคัญคือหนูอยากบอกว่าขอโทษ หนูรู้ว่าที่แม่ตี แม่ดุด่า ว่าหนูก็เพราะต้องการให้หนูเป็นเด็กดี เวลาผ่านมา 20 ปี ที่แม่เลี้ยงดูหนูมาไม่มีวันไหนที่หนูจะหยุดรักแม่ ขอบคุณแม่ที่ค่อยอบรมเลี้ยงดูลูกคนนี้ ดูแลเลี้ยงดูมาเป็นอย่างดี หนูรู้ว่าไม่มีสิ่งใดจะทดแทนบุญคุณอันยิ่งใหญ่นี้ได้ แต่หนูขอสัญญาว่าหนูจะเป็นเด็กดี ตั้งใจเรียน และจะนำใบปริญญา มาให้แม่ให้ได้ และต่อไปหนูจะดูแลแม่ให้เหมือนที่แม่ดูแล หนูรักแม่คะ



วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 9


การจัดการห้องเรียนที่ดี
            ในการจัดห้องเรียนที่ดี ในความหมายคือการจัดสภาพห้องเรียน เป็นการจัดตกแต่งห้องเรียน ให้มีบรรยากาศที่น่าเรียนเพื่อที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน นอกเหนือจากความหมายการจัดการห้องเรียนแล้ว ครูยังเป็นผู้ดำเนินการในการจัดการคือครูต้องสร้างกิจกรรมทุกอย่างที่ครูทำเพื่อจะช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดบรรยากาศการเรียนรู้เป็นการจัดบรรยากาศทั้งนอกและในห้องเรียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนความรู้สึกอยากเรียน มีความกระตือรือร้นที่จะเรียน การจัดบรรยากาศการเรียนรู้จึงต้องสอดคล้องกับการเรียนการสอนในชั้นเรียน บรรยากาศในชั้นเรียนเป็นการรวมเอาลักษณะการจัดห้องเรียนให้เรียบร้อย การตกแต่งห้องเรียน การควบคุมพฤติกรรมของนักเรียน อีกด้วย


วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 8



ครูมืออาชีพในความคิดของข้าพเจ้า

                ครูมืออาชีพ ต้องเป็นผู้ที่มีคุณภาพในการสอน เพราะคุณภาพในการสอนของครูย่อมส่งผลที่ดีต่อนักเรียน และเยาวชนของชาติ ซึ่งครูต้องมีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอสามารถประยุกต์สิ่งต่างๆให้เข้ากับการเรียนการสอนได้ ที่สำคัญครูมืออาชีพ ต้องมีลักษณะพื้นฐานในตน 3 ประการ ต่อไปนี้ คือ ครูต้องมี ฉันทะ ต่ออาชีพครู เป็นพื้นฐาน ครูต้องมีความเมตตา ต่อเด็กและบุคคลรอบข้างเป็นพื้นฐาน และ ครูต้องมีความเป็น กัลยาณมิตร พร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ ซึ่งถือว่าเป็นคุณภาพพื้นฐานที่สำคัญของครู  
            นั่นคือ ครูมืออาชีพ จึงต้องมีคุณธรรม จริยธรรม สอนอย่างมีคุณภาพ มีภาพลักษณ์จรรยาบรรณของความเป็นครูที่ดี



วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน


บทความเรื่อง สอนแนะให้รู้จักคิดรูปแบบหนึ่งการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
            หลักการสอนแนะให้รู้จักคิดรูปแบบหนึ่งการจัดการเรียนการสอนคณิตสาสตร์ เป็นการจัดการเรียนทาง คณิตศาสตร์ที่ครูผู้สอนเน้นให้ผู้เรียนได้มีการเริ่มคิดและสามารถทำได้ด้วยตนเองเป็นสำคัญ ครูผู้สอนจะเป็นผู้เสนอปัญหาและสถานการณ์ในชีวิตจริงและชี้แนะแนวคิดในการแก้ปัญหา โดยให้แก่ผู้เรียนเกิดเข้าใจมีความคิดใหม่ๆ สามารถแก้ปัญหานั้นด้วยตนเองได้ สามารถอธิบายถึงการแก้ปัญหาและเหตุผลของตนเอง และอภิปรายเสนอวิธีการที่ใช้ในการแก้ปัญหาได้ ซึ่งเป็นการสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิดเพื่อสร้างความรู้ทางคณิตศาสตร์และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์

2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
            หลักการสอนแนะให้รู้จักคิด สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนโดยจะเน้นให้ผู้สอนจะเป็นผู้จัดกิจกรรม โดยการกำหนดปัญหาตามสถานการณ์จริงของนักเรียนได้ และส่งเสริมการเรียนรู้การเข้าใจในตัวปัญหาได้ด้วยตนเอง ผู้สอนจะเป็นเพียงผู้เสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อให้ตัวผู้เรียนเกิดความเข้าใจและเมื่อผู้เรียนแก้ปัญหานั้นได้แล้ว ให้ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรมในการอธิบายในแก้ปัญหาการใช้เหตุผลและสามารถอธิบายขั้นตอนที่ตนได้นำมาใช้ในการแก้ปัญหาโดยผู้สอนจะใช้คำถามในประเมิน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่เกิดจากตัวผู้เรียนเป็นหลัก

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
            การจัดการเรียนรู้แบบใช้การแก้ปัญหาจากสถานการณ์จริง
1. การใช้ปัญหาจากสถานการณ์จริง ครูผู้สอนจะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะใช้ตัวปัญหาเพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของบทเรียน
2. ผู้สอนควรจะเตรียมปัญหาที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดย การสร้างปัญหาอย่างมีหลักเกณฑ์
3. ผู้สอนจะเป็นผู้แนะแนวทางการแก้ปัญหาแก่ผู้เรียนและให้ผู้เรียนแก้ปัญหานั้นด้วยตนเองได้และสามารถอธิบายหลักและเหตุผลวิธีการที่ใช้ในการแก้ปัญหา
4. ผู้สอนและผู้เรียนจะสรุปและประเมินผล





บทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านทรงเป็นครูของแผ่นดินที่สอนให้ลูกศิษย์เห็นในสิ่งที่พระองค์ได้ทรงปฏิบัติ ท่านทรงสอนให้รู้จักดิน น้ำ ลม ไฟ การสอยนอกห้องเรียน แล้วที่สำคัญคือสอนให้รู้จักสังคม การใช้ชีวิตเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคมและผู้อื่น ครูต้องสอนให้เข้าใจใน รู้ รัก สามัคคี พระองค์ท่านทรงสอนให้เราดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง

2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
ข้าพเจ้าจะนำหลักคำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปประยุกต์ในการสอนโดยการเป็นครูที่ดีต้องทำให้ดู และจะสอนให้ผู้เรียนเป็นคนดี ครูก็ต้องเป็นคนดีก่อน
สอนให้นักเรียนได้คิดและเข้าใจ และปฏิบัติได้จริง การศึกษาจากสถานที่จริง และนำไปใช้ได้จริงในชวิตประจำวัน

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
1. การทำให้ดู ครูต้องต้องทำให้ผู้เรียนเห็น
2. สอนให้เข้าใจ จากการเรียนรู้ครูต้องสอนให้นักเรียนเข้าใจในเนื้อหาสาระต่างๆ
3. ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ครูเป็นผู้ชี้แนวทางและจะให้ผู้เรียนได้ลงมือทำด้วยตนเองได้
4. สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน


วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 7


ศึกษาดูโทรทัศน์ครู
1.สอนเรื่องอะไร  ผู้สอนชื่อ  ระดับชั้นที่สอน
สอนเรื่อ  รูปสี่เหลี่ยม
ผู้สอน   คุณครูไชยวัฒน์ ครรชิตไชย
ระดับชั้นที่สอน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6     โรงเรียนบ้านบางกะปิ
2.เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
สอนเรื่องเรขาคณิต เกี่ยวกับการหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมด้วยการทบทวนคุณสมบัติของสี่เหลี่ยม 7 ประเภท และใช้คุณสมบัติเหล่านั้น แบ่งกลุ่มสูตรการหาพื้นที่ให้ง่ายต่อการจดจำ และนำไปใช้ รวมทั้งนำของเล่นที่เด็กคุ้นเคยคือ หนังยาง มาเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบความเข้าใจในภาคปฏิบัติ
3.จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
มีการจัดกิจกรรมโดยการใช้สื่อช่วยในการเรียนการสอน ดังนี้
ด้านสติปัญญา( IQ)ให้นักเรียนมีความสนใจและอยากจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ และยังช่วยให้นักเรียนรู้จักการวางแผนในการทำงานเป็นกลุ่ม รู้จักการทำงานเป็นระบบตามระเบียบแบบแผนที่คุฯครูได้กำหนดไว้ ทำให้นักเรียนสามารถจัดลำดับขั้นตอนการทำงานได้อย่างมีระบบ และที่สำคัญคือนักเรียนมีความเข้าใจและเกิดการรักคณิตศาสตร์และคิดว่าคณิตศาสตร์ไม่ใช่สิ่งที่น่าเบื่อ
 ด้านอารมณ์ (EQ) เมื่อนักเรียนสามารถเรียนได้อย่างเข้าใจ ก็จะทำให้นักเรียนมีความสุข และสนุกกับการทำกิจกรรม  
ด้านคุณธรรมจริยธรรม( MQ) ให้นักเรียนรู้จักการเรียนรู้การตัดสินใจในการทำงานกลุ่ม รู้จักการทำงานอย่างมีระบบ ระเบียบแบบแผน รู้ว่าอะไรมาก่อนมาหลัง ทำงานอย่างรอบคอบ และที่สำคัญยังช่วยให้เด็กมีความรับผิดชอบรู้จักใช้เหตุผล และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4.บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
บรรยากาศในห้องนักเรียนทุกคนร่วมกันทำกิจกรรมร่วมกันตอบคำถามที่อาจารย์สอน ภายในห้องเรียนยังมีการจัดป้ายนิเทศ และมีการทำกิจกรรมนอกห้องเรียน นักเรียนร่วมกลุ่มกันเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาโจทย์ที่ได้ มีการใช้สื่อการสอน เป็นหนังยาง