บทความเรื่อง
สอนแนะให้รู้จักคิดรูปแบบหนึ่งการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
หลักการสอนแนะให้รู้จักคิดรูปแบบหนึ่งการจัดการเรียนการสอนคณิตสาสตร์
เป็นการจัดการเรียนทาง คณิตศาสตร์ที่ครูผู้สอนเน้นให้ผู้เรียนได้มีการเริ่มคิดและสามารถทำได้ด้วยตนเองเป็นสำคัญ
ครูผู้สอนจะเป็นผู้เสนอปัญหาและสถานการณ์ในชีวิตจริงและชี้แนะแนวคิดในการแก้ปัญหา โดยให้แก่ผู้เรียนเกิดเข้าใจมีความคิดใหม่ๆ
สามารถแก้ปัญหานั้นด้วยตนเองได้ สามารถอธิบายถึงการแก้ปัญหาและเหตุผลของตนเอง
และอภิปรายเสนอวิธีการที่ใช้ในการแก้ปัญหาได้ ซึ่งเป็นการสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิดเพื่อสร้างความรู้ทางคณิตศาสตร์และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
หลักการสอนแนะให้รู้จักคิด
สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนโดยจะเน้นให้ผู้สอนจะเป็นผู้จัดกิจกรรม
โดยการกำหนดปัญหาตามสถานการณ์จริงของนักเรียนได้ และส่งเสริมการเรียนรู้การเข้าใจในตัวปัญหาได้ด้วยตนเอง
ผู้สอนจะเป็นเพียงผู้เสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อให้ตัวผู้เรียนเกิดความเข้าใจและเมื่อผู้เรียนแก้ปัญหานั้นได้แล้ว
ให้ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรมในการอธิบายในแก้ปัญหาการใช้เหตุผลและสามารถอธิบายขั้นตอนที่ตนได้นำมาใช้ในการแก้ปัญหาโดยผู้สอนจะใช้คำถามในประเมิน
ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่เกิดจากตัวผู้เรียนเป็นหลัก
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
การจัดการเรียนรู้แบบใช้การแก้ปัญหาจากสถานการณ์จริง
1. การใช้ปัญหาจากสถานการณ์จริง ครูผู้สอนจะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะใช้ตัวปัญหาเพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของบทเรียน
2. ผู้สอนควรจะเตรียมปัญหาที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดย การสร้างปัญหาอย่างมีหลักเกณฑ์
3. ผู้สอนจะเป็นผู้แนะแนวทางการแก้ปัญหาแก่ผู้เรียนและให้ผู้เรียนแก้ปัญหานั้นด้วยตนเองได้และสามารถอธิบายหลักและเหตุผลวิธีการที่ใช้ในการแก้ปัญหา
4. ผู้สอนและผู้เรียนจะสรุปและประเมินผล
2. ผู้สอนควรจะเตรียมปัญหาที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดย การสร้างปัญหาอย่างมีหลักเกณฑ์
3. ผู้สอนจะเป็นผู้แนะแนวทางการแก้ปัญหาแก่ผู้เรียนและให้ผู้เรียนแก้ปัญหานั้นด้วยตนเองได้และสามารถอธิบายหลักและเหตุผลวิธีการที่ใช้ในการแก้ปัญหา
4. ผู้สอนและผู้เรียนจะสรุปและประเมินผล
บทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านทรงเป็นครูของแผ่นดินที่สอนให้ลูกศิษย์เห็นในสิ่งที่พระองค์ได้ทรงปฏิบัติ
ท่านทรงสอนให้รู้จักดิน น้ำ ลม ไฟ การสอยนอกห้องเรียน แล้วที่สำคัญคือสอนให้รู้จักสังคม
การใช้ชีวิตเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคมและผู้อื่น ครูต้องสอนให้เข้าใจใน รู้
รัก สามัคคี พระองค์ท่านทรงสอนให้เราดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
ข้าพเจ้าจะนำหลักคำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปประยุกต์ในการสอนโดยการเป็นครูที่ดีต้องทำให้ดู
และจะสอนให้ผู้เรียนเป็นคนดี ครูก็ต้องเป็นคนดีก่อน
สอนให้นักเรียนได้คิดและเข้าใจ
และปฏิบัติได้จริง การศึกษาจากสถานที่จริง และนำไปใช้ได้จริงในชวิตประจำวัน
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
1. การทำให้ดู ครูต้องต้องทำให้ผู้เรียนเห็น
2. สอนให้เข้าใจ จากการเรียนรู้ครูต้องสอนให้นักเรียนเข้าใจในเนื้อหาสาระต่างๆ
3. ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ครูเป็นผู้ชี้แนวทางและจะให้ผู้เรียนได้ลงมือทำด้วยตนเองได้
4. สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น